วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 7 การคำนวณทางคณิตศาสตร์  

         
สาระสำคัญ       
    
การทำงานต่างๆ ในคอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสองมาประมวลผลดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแทนค่าตัวเลข และการกระทำทางคณิตศาสตร์ต่างๆ

ระบบตัวเลขในคอมพิวเตอร์

เนื่อง จากคอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยระบบดิจิตอล ดังนั้นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลจะถูกเก็บในรูปแบบของเลขฐานสอง โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า บิต ระบบเลขฐานสองนี้จะมีค่าเป็นไปได้ 2 ค่า คือ 0 และ 1 ถ้าหากนำข้อมูล 0 และข้อมูล 1 หลาย ๆ บิตมาต่อเรียงกันจะทำให้สามารถนำมาแทนค่าข้อมูลได้ ดังนั้นเมื่อมีการเขียนโปรแกรมจะต้องพิจารณาด้วยว่าจะประกาศตัวแปรให้เป็น ข้อมูลขนาดกี่บิตโดยควรทราบล่วงหน้าว่าข้อมูลที่จะเก็บอยู่ในช่วงใด

การแทนค่าข้อมูลเลขจำนวนเต็ม

ปกติ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสองสถานะ คือ ปิด และ เปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสองและมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง
ตัวเลขแต่ละหลักของจำนวนในระบบเลขฐานสองเราเรียนกว่า บิต (Bit) ดัง นั้นจำนวน 1011 จึงเป็นเลขฐานสองที่มีจำนวน 4 บิตการใช้เลขฐานสองมาแทนอักขระต่าง ๆ จะพบว่า ถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 1 บิต จะแทนข้อมูลได้ 2 แบบ คือ 0 และ 1 ถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 4 บิต จะแทนอักขระได้ทั้งหมด 16 แบบ

ตัวดำเนินการ

ตัวดำเนินการ(Operator) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างนิพจน์ หรือตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป โดยที่ข้อมูลที่ถูกกระทำหรือตัวที่ถูกกระทำเราเรียกว่า โอปะแรนต์ (Operand)

ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์

ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์(Arithmetic operator) หมายถึงเครื่องหมายการคำนวณในทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการประเภทนี้ จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลทางคณิตศาสตร์กับตัวถูกกระทำเครื่องหมาย และ การดำเนินการมีดังนี้



1 

2



ตัวดำเนินการเชิงเปรียบเทียบ(Comparison operator)


หมายถึงเครื่องหมายในการเปรียบเทียบข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าตรรกบูลลีนเป็น จริง (True) และ เท็จ (False) เครื่องหมายของตัวดำเนินการที่ใช้มีดังนี้

3



แสดงการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ


4



ตัวดำเนินการเชิงตรรก (Logical operator)เป็นเครื่องหมายที่ให้ค่าจริง (True) และเท็จ (False) ในการเปรียบเทียบ ประกอบด้วยเครื่องหมาย


5


ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำทางตรรกศาสตร์เป็นดังตารางต่อไปนี้

6



นิพจน์

นิพจน์ คือ ข้อความที่เขียนในรูปสัญลักษณ์ อาจเป็นนิพจน์ที่เป็นเอกนามหรือนิพจน์ที่ไม่เป็นเอกนามก็ได้ เช่น 4, 3x+2, a+b-c+3, Width*Length

ถ้าหากต้องการเก็บผลลัพธ์ด้วย เขียนได้ดังนี้

Area = Width*Length

หมายความว่า เก็บผลลัพธ์ของนิพจน์ width*Length ลงในหน่วยความจำที่มีตำแหน่งชื่อว่า Area โดยที่ Width*Length และ Area จะเป็นหน่วยความจำหรือตัวแปรที่โปรแกรมสร้างขึ้นเอาไว้เก็บข้อมูล

**เอก นาม คือ จำนวนซึ่งเขียนในรูปผลคูณของค่าคงตัวและตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังเป็นศูนย์ หรือ จำนวนเต็มบวก นิพจน์ที่ไม่เป็นเอกนาม คือ นิพจน์ที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปร หรือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นจำนวนเต็มลบ


**ตัว แปร คือ ตัวอักษรที่ใช้เป็นจำนวนซึ่งไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นจำนวนอะไร สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ค่าคงตัวซึ่งเป็นตัวคูณกับตัวแปรของเอกนาม

7


สำหรับนิพจน์ที่ถูกกระทำด้วยตัวดำเนินการหลายตัว การคำนวณนั้นจะต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ โดยการกระทำจะเริ่มจากตัวดำเนินการที่มีความสำคัญสูงสุดไปจนถึงความสำคัญต่ำสุด ดังนี้

8


จะเห็นว่าวงเล็บจะมีความสำคัญสูงสุด ส่วนตัวดำเนินการเปรียบเทียบจะมีความสำคัญต่ำสุด ถ้าหากในนิพจน์ประกอบด้วยตัวดำเนินการที่มีความสำคัญเท่ากัน ลำดับการกระทำจะทำจากซ้ายไปขวา ถ้าหากในนิพจน์มีเครื่องหมายวงเล็บอยู่หมายความว่าให้หาค่าคำตอบภายในวงเล็บก่อน

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนนิพจน์ให้คอมพิวเตอร์คำนวณการกระทำทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้


7 

9


ตัวอย่างที่ 2


10



11


12



ตัวอย่างที่ 3 จงหาคำตอบนิพจน์ต่อไปนี้


13



14



ตัวอย่างที่ 4 จงหาคำตอบจากนิพจน์ต่อไปนี้

15


16


สรุป


        โดย สรุปแล้ว คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะเก็บข้อมูลที่เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ที่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสอง ดังนั้นการคำนวณของคอมพิวเตอร์จึงมีการแทนค่าข้อมูลด้วยเลขฐานสอง นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถนำข้อมูลมากระทำต่อกันด้วยตัวดำเนินการเพื่อ ให้ได้ข้อมูลใหม่ หรือที่เรียกว่าการประมวลผล





แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/30251commath/bth-reiyn/-4
https://wittaya2529.wordpress.com
ค้นหาเมื่อ 16/11/2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ