วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 

บทที่  5 ความจำภายนอก

หน่วยความจำรอง (Second Memory) 



หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึก


                        ข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่          


  1.ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)  







ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย



  2.ฟลอบปี้ดิสก์(Floppy Disk)   





           ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆจะมีขนาด 8นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี  ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียก ฟลอปปี้เช่นเดิม



 3.ซีดี (Compact Disk - CD) 









        ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติก กลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมัน  สะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง  (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์   ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD    



  4.รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive)  









  รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน(Drive)
สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของ
รีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 2, 4 , 8 , 16 , 32 กิกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่อ อื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive 



  5.ซิบไดร์ฟ (Zip Drive)  


Image result for .ซิบไดร์ฟ (Zip Drive)



ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100
เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการ

เก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์


  6.Magnetic optical Disk Drive   



















Magnetic optical Disk Driveเป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด3.5นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2กิกะไบต์


  7.เทปแบ็คอัพ (Tape Backup)   



เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการ Backup ข้อมูลโดยเฉพาะ interfaceส่วนใหญ่ เป็นแบบ SCISI II, Ultra SCISI ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ ขนาดระดับ 10-100 GB โดยส่วนใหญ่จะใช้สำรองข้อมูลในหน่วยงาน บริษัท ต่าง ๆ เพราะว่าผู้ใช้โดยทั่วไปคงไม่มีความจำเป็นถึงกับต้องการสำรองข้อมูลที่ใหญ่ ขนาดนั้น เพราะราคาเครื่องเริ่มต้นค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ราคาของตัว Tape ที่นำมา Backup นั้นราคาต่อขนาดแล้วค่อนข้างต่ำกว่าสื่อสำรองข้อมูลแบบอื่น ๆ เพราะฉะนั้น Tape backup นี้ยังคงไดัรับความนิยมในการนำมาใช้สำรองข้อมูล ขนาดใหญ่ ๆ

  8.การ์ดเมมโมรี (Memory Card)  






  การ์ดเมมโมรี (Memory Card) แผ่นเก็บบันทึกภาพที่มีหน่วยความจำเป็น MB เมกะไบท์ โดยทั่วไปความสามารถในการเก็บบันทึกภาพจะขึ้นกับความละเอียดของภาพที่ตั้งค่าเอาไว้ใน กล้องดิจิตอล เช่นMemory card ความจุ 16 MB สามารถเก็บบันทึกภาพขนาด 5 MP   ได้ 6 11 รูป เป็นต้น

                สรุป                          

หลายๆคนอาจคุ้นเคยกับหน่วยความจำภายนอก หรือบางทีเราก็หมายถึงหน่วยความจำสำรองด้วยค่ะ เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ว่านี้กันนะคะ และอันดับแรกที่อยากจะแนะนำคือ ฮาร์ดดสก์ (Hard disk) รูปแบบของหน่วยความจำที่ถูกที่สุดและใช้กันอย่างกว้างขวางทุกวันนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ มีหลักการทำงานคล้ายกับฟลอปปีดิสก์ แต่ฮาร์ดดิสค์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็งเรียกว่า Platters ทำให้เก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีบางรุ่นที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ โดยจะเป็นแผ่นแม่เหล็กเพียงแผ่นเดียวอยู่ในกล่องพลาสติกบางๆ สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 1กิกะไบต์ขึ้นไป Virtual memory จะเป็นวิธีในการนำพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (ส่วนมากจะเป็นฮาร์ดดิสก์) มาจำลองเป็นหน่วยความจำ เนื่องจากหน่วยความจำของระบบมีจำกัดและมีราคาสูง การใช้หน่วยความจำเสมือนจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมขนาดใหญ่มาก ๆ ได้ ดดยไม่มีปัญหาเรื่องหน่วยความจำไม่เพียงพอ ระบบการทำงานของหน่วยความจำเสมือนจะใช้วิธีแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วน ๆ และคอมพิวเตอร์จะทำการ สลับส่วนของโปรแกรมที่ยังไม่ได้ใช้ลงไปยังหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง และทำการสลับกลับมาในหน่วยความจำหลักเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน หลักการของหน่วยความจำเสมือนทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมที่ต้องการใช้ไม่ต่ำกว่า 6 MB บนเครื่องที่มีแรมเพียง 4 MB RAID เป็นข้อกำหนดในการใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนหนึ่งมาประกอบกัน เพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของความทนทานต่อข้อผิดพลาดให้กันระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบบแผนของระบบ RAID มีอยู่หลายระดับ โดยที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบันคือ RAID-0 ใช้วิธีการทำ Data striping นั่นคือแบ่งแฟ้มเขียนลงไปบนดิสก์หลายๆตัว โดยไม่ซ้ากัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธภาพของฮาร์ดดิสก์ RAID-1 จะใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นคู่ในการเขียนข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการลงไปในฮาร็ดดิสก์ทั้งคู่ RAID-3 คล้ายกัน RAID-0 แต่จะใช้ฮาร์ดดิสก์อีกตัวในการเก็บข้อมูลสำหรับแก้ไขข้อผิดพลาด RAID-5 เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยจะทำ Data striping และจะเก็บข้อมูลสำหรับแก้ไขข้อผิดพลาดลงในทุกๆฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีประสิทธภาพสูง และป้องกันข้อผิดพลาดได้ดี RAID-10 บางครั้งเรียกว่า RAID-0+1 เนื่องจากใช้หลักการของ RAID-0 และ RAID-1 มารวมกัน ทำให้ได้ประสิทธิภาพและป้องกันการผิดพลาดได้ดี แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงที่สุด ออปติคัสดิสก์ (Optical Disk) มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงมากนัก ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีต่างกันไป เช่น CD-ROM อ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไข หรือลบข้อมูลในแผ่น CD ได้ CD-R เป็น CD ที่สามารถเขียนข้อมูลหรือ write ที่เรียกว่าการ burning ได้ครั้งเดียว สามารถอ่านได้หลายคร้ง แต่ไม่สามารถลบข้อมูลได้ ปัจจุบันมีความจุตั้งแต่ 650 MB ขึ้นไป CD-RW คล้ายกับ CD-R ต่างกันตรงที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือสามารถอ่านเขียน ข้อมูลเพิ่มได้หลายครั้ง DVD สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 4.7 GB ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบัน สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึง 17 GB เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยความจำสำรองแบบ magnatic รุ่นแรก ๆ ที่มีการใช้ที่มีการใช้แม่เหล็กเคลือบบนแถบพลาสติกและพันรอบม้วนเทป 2 ม้วน โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ reel-to-reel และ cartridge โดยทั่วไปมีความยาวหลายพันฟุต และมักใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบเมนเฟรม สำหรับ reel-to-reel จะมีขนาดใหญ่และความยาวกว่ามาก ข้อดี คือ ราคาไม่แพง และมีการทำงานที่เชื่อถือได้เหมาะกับการสำรองข้อมูล ข้อเสีย คือ ทำงานช้าเพราะการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบตามลำดับ ซึ่งจะต้องกรอเทปกลับ หรือไปข้างหน้า ในขณะที่อัตราการเคลื่อนย้ายข้อมูลสามารถถูกทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มความเร็วของเทป



แหล่งข้อมูล
https://sites.google.com/site/kroonom/hnwy-khwam-ca-rxng
http://www.vcharkarn.com/varticle/32742
ค้นหาเมื่อ 14/11/2558


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ